“ก่อนเดินทาง สงกรานต์ นี้ คุณมี พ.ร.บ. รถยนต์แล้วหรือยัง ?”

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ? มีประโยชน์อะไรบ้าง ?

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

เป็นการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ต้องทำประกันภัยภาคบังคับตาม พ.ร.บ. รถยนต์นี้ วันนี้เราจะพาไปดูรายละเอียดกันว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ทำไมต้องบังคับทำ และมีประโยชน์อะไรกับเราบ้าง ไปดูกัน

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

การทำ พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ โดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกคนที่ประสบเหตุจากรถยนต์ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า ฯลฯ ก็จะได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน
ซึ่งรถยนต์ที่ต้องทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ ได้แก่รถทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบก ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ ฯลฯ ที่เป็นรถประเภทมีไว้ใช้ ไม่ว่าจะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นก็ตาม ถือเป็นรถที่ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับทั้งสิ้น

ทำไมต้องบังคับทำ พรบ รถยนต์ ?

เนื่องจากภาครัฐจะต้องคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยทุกคน ไม่ว่าจะบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพื่อให้ได้รับการพยาบาลอย่างทันท่วงทีในกรณีที่บาดเจ็บ และเป็นค่าปลงศพในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังถือเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลอีกด้วยว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากผู้ที่ประสบเหตุจากรถยนต์ หรือที่เรียกว่า สวัสดิการสงเคราะห์ของรัฐบาลที่มอบให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายและครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนนั่นเองครับ

ถ้าไม่ทำประกัน พ.ร.บ. จะมีโทษ หรือโดนปรับไหม ?
แน่นอนว่าประกัน พ.ร.บ. นั้นเป็นประกันภาคบังคับ หากไม่ทำมีโทษเป็นค่าปรับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • กรณีเจ้าของรถไม่ทำประกัน พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • กรณีคนที่ไม่ใช่เจ้าของรถ ขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำหรือไม่ได้ต่ออายุประกัน พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • กรณีที่เป็นเจ้าของรถไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้นำรถคันนั้นไปใช้ ถือว่าผิดทั้ง 2 กระทง มีโทษปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท

สิทธิประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์

ค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (จ่ายทันทีโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดใน 7 วัน)

  • ค่ารักษาพยาบาล ตามการรักษาจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท ต่อคน รวมกันจะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท ต่อคน

กรณีที่เป็นฝ่ายถูก

  • ค่ารักษาพยาบาลตามจริง วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
  • ผู้ป่วยใน นอนโรงพยาบาล จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน
  • ถ้าหากเกิดการทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยวงเงิน 500,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชยที่แตกต่างกันออกไป คือ นิ้ว 200,000 บาท หูหนวก หรือเป็นใบ้ 250,000 บาท อวัยวะอื่นที่กระทบต่อการดำรงชีวิต 250,000 บาท สูญเสียอวัยวะ 1 ข้าง 250,000 บาท และ 2 ข้าง 500,000 บาท

เป็นสิทธิประโยชน์ที่ทุกคนควรจะรู้ไว้ ในกรณีฉุกเฉินจำเป็นน่าจะมีประโยชน์สำหรับหลาย ๆ คนได้แน่นอน ส่วนการยื่น เคลมนั้น หลังจากเกิดอุบัติเหตุให้แจ้งความลงบันทึกประจำวัน เข้ารับการรักษาพยาบาล ขอใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จมาให้เรียบร้อย ตอนยื่นเคลมก็ให้แนบเอกสารบันทึกประจำวัน ใบเสร็จ ใบรับรองแพทย์ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยให้บริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ. รถ ไว้ได้เลย แล้วก็อย่าลืมซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ต่ออายุไว้อย่าให้ขาด เป็นสิ่งจำเป็นที่คนใช้รถยนต์ต้องให้ความสำคัญมากถึงมากที่สุด

หากสนใจทำ พ.ร.บ. รถยนต์

สามารถติดต่อ TCB ได้ที่ tcbhy@taksincons.com หรือ Tel : 074-345991-4 # 111 Mobile : 094-2911800

ติดต่อสอบถามโดยตรง

เรายินดีที่จะให้คำปรึกษาในทุกด้านประกันภัย

Indrajitu Slot Indrajitu Slot Gacor slot online Indrajitu Slot https://resep2.fk.ulm.ac.id/ https://sim-epk.fk.ulm.ac.id/ https://skillslab.fk.ulm.ac.id/ https://upm.fk.ulm.ac.id/ https://jepa.ub.ac.id/pages/indrajitu-slot/ https://industria.ub.ac.id/pages/indrajitu/ https://industria.ub.ac.id/ https://v2.api.uniku.ac.id/indrajitu/